พุยพุย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

Parent Education For Early Childhood
ผู้สอน ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2560


 เนื้อหาความรู้/กิจกรรม
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
                   ปัจจุบันสถานศึกษาทุกระดับทั่งโลก ต่างให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่  ผู้ปกครองในการจัดการศึกษา การให้ความรู้กับผู้ปกครองจึงเป็นภารกิจที่สถานได้ดำเนินงานในรูปแบบที่แตกต่างไปในแต่ละประเทศ 
   โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการ   แม่สอนลูก
          - ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
          - จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
           การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยเป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย  โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
                   - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
                   - วิธีการสนทนากลุ่ม
                   - วิธีอภิปรายกลุ่ม
                   - วิธีการบรรยาย   
โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
           ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย  เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง
ครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
          ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด 
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
           โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
            เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก 

                                          โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
              มีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน 

โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  
ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
          - สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะเสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ
         
โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
           โครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการที่สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ รู้จักใช้วัสดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ –อุปกรณ์ และสอนให้รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
             จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น 
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
                 เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ 

โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
                มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) 
โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
                  เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น การบริการเฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
               เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
โครงการ Brooklyne Early Childhood
               เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก  ดำเนินการโดย Brooklyne Public School ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
              ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
             เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ
                              “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”

โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
               เป็นโครงการที่โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่เป็นรากฐานของการศึกษาปฐมวัย และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง
โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
          เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
“ถุงบุ๊คสตาร์ท”



          ภายในถุงประกอบด้วย
-       หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
-       หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
-       ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
-       แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
-       บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
-       รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
-       รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
                         โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น
                       สรุป  จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ 

                  🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀 🍀

คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมาย
ร่วมกันอย่างไร
             ยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน 

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
อย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
                หากจะจัดโครงการขึ้นมา จะมีการสอบถามก่อนว่า ผู้ปกครองต้องการคำแนะนำเรื่องใด เพื่อให้ตรงตามความต้องการซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ผู้ปกครองมาเข้าร่วมโครงการ จากนั้นสรุปผลการสอบถาม เริ่มดำเนินโครงการโดยการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย กำหนดวันที่สะดวกต่อผู้ปกครอง ลงพื้นที่ให้ความรู้ และสรุปผลการทำโครงการ ตรวจสอบปัญหาที่พบระหว่างดำเนินโครงการ

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคตจงยตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ  
              1. ทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้
เป็นการสอนทำสือจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เป็นการนำของเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่ามากยิ่งขึ้น เช่น การทำรถยนต์จากขวดน้ำพลาสติก เป็นต้น
              2. การดูแลและให้ความรักความอบอุ่น
ให้ความรู้ในเรื่องของการดูแลและให้ความอบอุ่นอาจให้ความรู้ในรูปแบบของแผ่นพับ  เช่น อาจมีการแนะนำกิจกรรมที่ทำร่วมกันใครอบครัว ร้องเพลง เล่านิทาน
              3.ลูกน้อยรักการอ่าน
โดยผู้ปกครองต้องมีการสอนลูกอ่านหนังสือ อาจะเป็นหนังสือนิทาน เพื่อความสนุกสนานของเด็ก ทั้งยังเป็นการฝึกทักษะภาษา จะเป็นการส่งเสริมทักษะทางสติปัญญาของเด็กได้อีกด้วย
             4.เลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
มีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการ เลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์ โดยการใช้เพลง นิทาน เน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ผ่านการเล่น
              5.อนามัยและโภชาการลูกรัก
จัดทำโครงการที่ให้ความรู้ในเรื่องของความสะอาดอนามัยและโภชาการลูกรัก โดยอาจมีการสาธิตการทำอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ครบ5หมู่ การสอนในเรื่องการทำความสะอาดที่ถูกต้องเช่น สอนล้างมือตามขั้นตอน

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร  จงอธิบาย
           เนื่องจาก พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เป็นครูคนแรกของลูก
ทุกคน หากพ่อแม่เลี้ยงลูกได้ถูกต้องเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการแล้ว ลูกย่อมเติบโตมาอย่างมี
ศักยภาพ

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
            มีการทำแบบประเมินก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ สังเกตในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าร่วมโครงการ

การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         โครงการต่างๆที่จัดขึ้นนั้นทำให้เราสามารถนำโครงการดีๆต่างที่มีประโยชน์มากมายมาแนะนำให้ผู้ปกครองที่สนใจ เพื่อให้ผู้ปกครองมีความพร้อมในการดูและเด็กได้ดีและมีคุณค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้

ประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา
อาจารย์ : ยกตัวอย่างและอธิบายข้อมูลเพิ่มเติม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Course Syllabus

แนวการสอน (Course Syllabus)  ชื่อวิชา (ภาษาไทย)            การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ชื่อวิชา (ภาษาอังกฤษ)        Parent Educ...