พุยพุย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
การให้การ
ศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
Parent Education For Early Childhood
ผู้สอน ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 30 สิงหาคม2560


  เนื้อหาความรู้/กิจกรรม
                   🌸 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 🌸
        One-Way Communication  การสื่อสารทางเดียว
        Two-way Communication  การสื่อสารสองทาง
        Verbal Communication  การสื่อสารเชิงวัจนะ
        Non-Verbal Communication  การสื่อสารเชิงอวัจนะ
        Intrapersonal Communication  การสื่อสารส่วนบุคคล
         Interpersonal Communication  การสื่อสารระหว่างบุคคล
         Mass Communication  การสื่อสารมวลชน
         Credibility  ความน่าเชื่อถือ
         Content  เนื้อหาสาระ
         Clearly  ความชัดเจน
         Context  ความเหมาะสมกับโอกาส
         Channel  ช่องทางการส่งสาร
         Continuity consistency  ความต่อเนื่องและแน่นอน
         Clarity of audience  ความสามารถของผู้รับสาร
                      🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄  🌄 🌄
วันนี้มีการเล่นเกมเกี่ยวกับการสื่อสาร 
เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสารเกมทายคำ
เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสารเกมสื่อความหมาย
เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสารเกมพรายกระซิบ
เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร





การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายของการสื่อสาร
     การสื่อสาร (Communication)
                        คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา 
ความสำคัญของการสื่อสาร
     - ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
     - ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
     - ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
     - ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
     - ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
1. รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)

2. รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)


3. รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)

4. รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )


5. รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication)

องค์ประกอบของการสื่อสาร
 

     1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
     2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
     3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
     4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
     5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
       
 ผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ผู้จัดกับผู้ชม ผู้พูดกับผู้ฟัง ผู้ถามกับผู้ตอบ คนแสดงกับคนดู นักเขียนกับนักอ่าน ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว หรือคนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน ฯ
สื่อ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
    1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง บอกความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
    2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา 
    3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร 
     4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
ประเภทของการสื่อสาร
          ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ 3 ประการ คือ  
     1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
        1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
       1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารมีโอกาสทราบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน  เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์
     2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก  
       2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร
      2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็วในการพูด เป็นต้น
     3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
         กิจกรรม ต่างๆ ของบุคคลและสังคม ถือว่าเป็นผลมาจากการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นการสื่อสารจึงมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะคือ 
       3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
       3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
       3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
การสื่อสารกับตนเอง
     - การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
     - การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
     - เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกั
การสื่อสารระหว่างบุคคล
          คือ การสื่อสารโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม โดยเป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น หรืออาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
การสื่อสารสาธารณะ
          ก็มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การอมรม การสอนในชั้นเรียน
การสื่อสารมวลชน
     - ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ
     - ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน
     - ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ
การสื่อสารในครอบครัว
         เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว  และครอบครัวต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน 
การสื่อสารในโรงเรียน
          ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่ และที่สำคัญคือ ควรระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาท 
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
           คือการเริ่มด้วยการทักทายตามสภาพของสังคมนั้นๆ  การติดต่อกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนควรพูดให้ตรงประเด็นและสุภาพพอควร การคบหากับชาวต่างประเทศ ควรศึกษาประเพณีและมารยาทที่สำคัญๆของกันและกัน
ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
           ออเออร์บาค (Auerbach,1968) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้
   1. ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
   2. ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
   3. ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
   4. การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
   5. การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
   1. เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
   2. เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
   3. มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
   4. เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
   5. เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
     - ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
     - ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
     - ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
     - ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
7 c กับการสื่อสารที่ดี
      - Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
    - Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
     - Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
     - Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
     - Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
    - Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
     - Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ
คุณธรรมในการสื่อสาร
         การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง รูปภาพ แผนภูมิและการใช้วัตถุต่างๆ
     - เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม
วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
     1. ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
     2. พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
     3. พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
     4. หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
     5. ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
         การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

คำถามท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
     🙋   การสื่อสาร  คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
        
2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
    🙋  - ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ลูกเรียน
          - ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่ายระหว่างสถานศึกษาและผู้ปกครอง

3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
      🙋    รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล ใคร   กล่าวอะไร   ผ่านโดยช่องทางใด   ไปยังใคร  ได้ผลอะไร
ทำให้เราได้ทราบรายละเอียดคบถ้วนสมบูรณ์อีกทั้งยังได้ดูการตอบรับของผู้ปกครอง เช่น โรงเรียนได้ส่งจดหมายเรียนเชิญผู้ปกครองทุกท่านให้มาร่วมงานวันแม่ปรากฎว่าได้รับการตอบรับที่ดีในการมาร่วมงาน

4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
      🙋   1. ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
             2. ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
             3. ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
             4. การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
             5. การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด

5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
      🙋    1. ความพร้อม คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ 
              2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
              3. อารมณ์และการปรับตัว คือ แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 
              4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 
              5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
          นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการสื่อสารทั้งกับครู ผู้ปกครองเด็ก  สถานศึกษา  เพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันกับจุดประสงค์ที่เราตั้งไว้ และเพื่อประสิิทธิภาพในการสื่อสารที่ดี

ประเมิน
         ตนเอง: ในส่วนเกมที่เกี่ยวกับเนื้อหาสนุกมาก ตื่นเต้น ตลกดี และยังให้ประโยชน์ในด้านของการสื่อสาร ทำให้เราให้ข้อเสียและข้อดีของการสื่อสาร
         เพื่อน: เพื่อนหลายคนก็สนุกสนานกับเกม
        อาจารย์: เกมที่อาจารย์นำมาให้เล่นยังให้ประโยชน์ในด้านของการสื่อสาร ทำให้เราให้ข้อเสียและข้อดีของการสื่อสาร อาจารย์สอนได้เข้าใจดี เนื้อหาค่อนข้างละเอียด





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Course Syllabus

แนวการสอน (Course Syllabus)  ชื่อวิชา (ภาษาไทย)            การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ชื่อวิชา (ภาษาอังกฤษ)        Parent Educ...